No Result
View All Result
I Learn A Lot
  • หน้าแรก
  • ข่าวคริปโต
  • บทความ
    • เหรียญคริปโต
    • ทฤษฎีกราฟ
    • NFT
    • เกม
    • IDO
  • How-To
  • Course
I Learn A Lot
  • หน้าแรก
  • ข่าวคริปโต
  • บทความ
    • เหรียญคริปโต
    • ทฤษฎีกราฟ
    • NFT
    • เกม
    • IDO
  • How-To
  • Course
I Learn A Lot
No Result
View All Result

เคยสงสัยกันไหมว่าทำไมเครื่องมือในการวัดเงินเฟ้อมันมีหลายตัวจัง แล้ว CPI กับ PCE คืออะไร มีความแตกต่างกันยังไง ทำไม FED ถึงชอบใช้ PCE ในการวัดเงินเฟ้อมากกว่า? โพสต์นี้มีคำตอบ !!!

by admin-cher
31 Jul 2022
in ข่าวคริปโต, บทความ
0
SHARES
121
VIEWS
Share on FacebookShare on Twitter

เคยสงสัยกันไหมว่าทำไมเครื่องมือในการวัดเงินเฟ้อมันมีหลายตัวจัง แล้ว CPI กับ PCE คืออะไร มีความแตกต่างกันยังไง ทำไม FED ถึงชอบใช้ PCE ในการวัดเงินเฟ้อมากกว่า? โพสต์นี้มีคำตอบ !!!

CPI ย่อมาจากคำว่า Consumer Price Index สรุปให้เข้าใจง่ายๆ มันคือตัวที่ใช้วัดค่าเฉลี่ยราคาสินค้าในตลาดจาก 8 หมวดหมู่ ตามนี้


1.ค่าเช่าบ้าน (Housing)
2.เครื่องนุ่งห่ม (Apparel)
3.อาหารและเครื่องดื่ม (Food and Beverages)
4.ค่ารักษาพยาบาล (Medical Care)
5.ค่าการขนส่ง (Transportation)
6.การสื่อสารและการศึกษา (Education and Communication)
7.การพักผ่อนหย่อนใจ (Recreation)
8.สินค้าด้านบริการอื่นๆ (Other Goods and Services)
ซึ่งจะมีอยู่อีกค่าที่เรียกกันว่า Core CPI ที่จะเป็นการตัดสินค้าประเภทอาหารและพลังงานออกไปจากสูตรการคำนวณ

ส่วนทางด้าน PCE นั้นย่อมาจากคำว่า Personal Consumption Expenditure โดยถ้าจะอธิบายให้ฟังง่ายๆ มันก็คือค่าเฉลี่ยรายจ่ายส่วนบุคคลที่ใช้สำหรับการบริโภคนั้นเอง ค่า PCE จะคำนวณมาจากค่าใช้จ่ายทุกๆ อย่างที่ผู้คนใช้จ่ายไปจริงๆ ไม่เหมือนกับ CPI ที่เมื่อสินค้าใดไม่เข้าข่าย 8 หมวดหมู่ก็จะไม่นำมาคำนวณกับค่า CPI

ความแตกต่างหลักๆ ของ CPI กับ PCE จะอยู่ที่ขอบเขตของสินค้าและบริการที่นำมาคำนวณ โดยที่ PCE นั้นจะเป็นค่าที่เหมาะสมกับการนำมาใช้ในยุคปัจจุบันมากกว่า เพราะสินค้าใหม่ๆ นั้นเกิดขึ้นมาในตลาดอย่างต่อเนื่อง เช่น การซื้อ Smartphone ที่ปัจจุบันเป็นเครื่องมือที่จำเป็นสำหรับหลายๆ คน หรือ ค่าประกันสังคมของพนักงาน ถ้าเป็นส่วนของ PCE ก็จะนำมาคำนวณเป็นลักษณะของค่าใช้จ่ายรวม แต่ถ้าเป็น CPI ก็จะถูกนำไปจัดเป็นหมวดหมู่ซะก่อน แล้วหลังจากนั้นจึงค่อยนำมาหาค่าเฉลี่ยเป็น CPI


หลายคนอาจกำลังตั้งข้อสงสัยกันอยู่ว่า มันก็เอามาคำนวณเหมือนกันไม่ใช่เหรอ แล้วมันต่างกันยังไง เราขอยกตัวอย่างให้เห็นกันชัดๆ แบบนี้ สมมติว่า PCE คือการตัดเกรดรายวิชาแบบที่ทุกวิชานั้นมีหน่วยกิตเท่ากัน ดังนั้นสินค้าทุกอย่างที่เราทำการจ่ายเงินเพื่อซื้อไปเลยจะมีความสำคัญเท่าๆ กัน แต่ถ้าเป็นฝั่งของ CPI จะเหมือนกับการตัดเกรดแบบที่แต่ละวิชามีหน่วยกิตที่ไม่เท่ากัน ดังนั้นการซื้อสินค้าในหมวดหมู่ที่ CPI ไม่ได้ให้ความสำคัญต่อให้มีค่าใช้จ่ายเท่ากับ PCE ก็จะถูกนำค่ามาคำนวณได้น้อยกว่านั้นเอง เรียกได้ว่า CPI กับ PCE นั้นจะมองคุณค่าสินค้าแตกต่างกัน PCE จะมองสินค้าทุกอย่างเท่าเทียมกัน แต่ CPI จะมองสินค้าแยกออกเป็นหมวดหมู่ซึ่งแต่ละหมวดหมู่ก็จะมีการเรียงลำดับความสำคัญนั้นเอง


ทีนี้เรามาดูกันที่คำถามถัดไป ว่าทำไม FED ถึงชอบใช้ค่า PCE ในการคำนวณเงินเฟ้อมากกว่า CPI ?
ต้องบอกก่อนเลยว่าจริงๆ แล้วในช่วงก่อนปี 2000 ทาง FED นั้นจะใช้ค่า CPI ในการคำนวณเงินเฟ้อเป็นหลักเพื่อความหลากหลายของสินค้านั้นยังไม่ได้มีมากเท่าปัจจุบันแต่หลังจากปี 2000 เป็นต้นมาทาง FED ก็ได้เริ่มปรับเปลี่ยนไปใช้ค่า PCE ในการคำนวณอัตราเงินเฟ้อแทนเพราะมันสามารถรองรับกับสินค้าที่หลากหลายได้มากกว่า แถมยังได้รับผลกระทบจากปัจจัยแวดล้อมอย่างเรื่องของ สงคราม หรือ วิกฤตพลังงานน้อยกว่าด้วย


อีกเหตุผลที่ FED ได้ให้ไว้สำหรับการคำนวณอัตราเงินเฟ้อจากค่า PCE เป็นหลักก็เพราะว่าค่า PCE นั้นมีความเสถียรที่มากกว่า CPI โดยอย่างที่ได้อธิบายไปข้างต้นว่าหากสินค้าประเภทที่ CPI ให้ความสำคัญมีปริมาณการซื้อขายที่สูงขึ้นค่า CPI ก็จะดีดขึ้นมาทันที ซึ่งทาง FED มองว่านั้นมันไม่ใช่อัตราเงินเฟ้อที่แท้จริงแต่อย่างใด


ถึงทาง FED จะใช้ค่า PCE ในการมองอัตราเงินเฟ้อเป็นหลักและเป็นค่าที่ใช้บนโต๊ะประชุมของ FOMC แต่ก็ไม่ใช่ว่า FED นั้นจะไม่นำค่า CPI มาคำนวณเลยซะทีเดียว จริงๆ ก็ขึ้นอยู่กับปัจจัยแวดล้อมหลายๆ อย่างซึ่งแน่นอนว่าไม่ว่าจะเป็น CPI หรือ PCE ก็ยังคงเป็นค่าที่มีความสำคัญและส่งผลต่อตลาดการลงทุนต่างๆ ได้อยู่ดี

Tags: #CPI#Crypto#FED#ILearnALot#PCE
ShareTweet
สมัคร Bitkub คลิกเลย สมัคร Bitkub คลิกเลย สมัคร Bitkub คลิกเลย

บทความที่เกียวข้อง

พาไปทำความรู้จักตัวเลข GDP คืออะไร ทำไมมีผลต่อเศรษฐกิจและราคาสินทรัพย์ !?
ข่าวคริปโต

พาไปทำความรู้จักตัวเลข GDP คืออะไร ทำไมมีผลต่อเศรษฐกิจและราคาสินทรัพย์ !?

January 26, 2023
14
ไล่ Timeline การล้มละลายของ Genesis จากต้นเหตุ 3AC ถึงฟางเส้นสุดท้าย FTX
ข่าวคริปโต

ไล่ Timeline การล้มละลายของ Genesis จากต้นเหตุ 3AC ถึงฟางเส้นสุดท้าย FTX

January 20, 2023
8
Producer Price Index (PPI) คืออะไร สำคัญยังไงกับนักลงทุนและนักเทรดกันนะ !?
บทความ

Producer Price Index (PPI) คืออะไร สำคัญยังไงกับนักลงทุนและนักเทรดกันนะ !?

January 18, 2023
7
Hardfork พร้อมแล้ว MATIC +41% แบบนี้ต้องพร้อมกันแล้วแหละ เบรคมาซะสวย!
ข่าวคริปโต

Hardfork พร้อมแล้ว MATIC +41% แบบนี้ต้องพร้อมกันแล้วแหละ เบรคมาซะสวย!

January 16, 2023
33
online-course-future-trade online-course-future-trade online-course-future-trade

ข่าวล่าสุด

  • พาไปทำความรู้จักตัวเลข GDP คืออะไร ทำไมมีผลต่อเศรษฐกิจและราคาสินทรัพย์ !?
  • ไล่ Timeline การล้มละลายของ Genesis จากต้นเหตุ 3AC ถึงฟางเส้นสุดท้าย FTX
  • Producer Price Index (PPI) คืออะไร สำคัญยังไงกับนักลงทุนและนักเทรดกันนะ !?
  • Hardfork พร้อมแล้ว MATIC +41% แบบนี้ต้องพร้อมกันแล้วแหละ เบรคมาซะสวย!
  • รีวิววิธีการสมัครและ KYC เพื่อใช้งาน OKX Exchange รวมไปถึงการตั้งค่ายังไงให้เงินของเราใน Exchange ปลอดภัย
  • Update ตลาดประจำวันศุกร์ที่ 7 ตุลาคม 2565

I Learn A Lot

เว็บไซต์ที่จะรวบรวมข่าวสารเกี่ยวกับ Cryptocurrency มาไว้ที่เดียว

ติดตามได้ที่

ข่าวล่าสุด

  • พาไปทำความรู้จักตัวเลข GDP คืออะไร ทำไมมีผลต่อเศรษฐกิจและราคาสินทรัพย์ !?
  • ไล่ Timeline การล้มละลายของ Genesis จากต้นเหตุ 3AC ถึงฟางเส้นสุดท้าย FTX
  • Producer Price Index (PPI) คืออะไร สำคัญยังไงกับนักลงทุนและนักเทรดกันนะ !?
  • Hardfork พร้อมแล้ว MATIC +41% แบบนี้ต้องพร้อมกันแล้วแหละ เบรคมาซะสวย!

หมวดหมู่

  • Bitcoin
  • How-To
  • IDO
  • NFT
  • Uncategorized
  • ข่าวคริปโต
  • ทฤษฎีกราฟ
  • บทความ
  • บทวิเคราะห์กราฟ
  • เกม
  • เหรียญคริปโต
DigitalOcean Referral Badge
  • Privacy & Policy
  • TERM OF SERVICES

© 2022 - I Learn A Lot

No Result
View All Result
  • หน้าแรก
  • ข่าวคริปโต
  • บทความ
    • เหรียญคริปโต
    • ทฤษฎีกราฟ
    • NFT
    • เกม
    • IDO
  • How-To
  • Course

© 2022 - I Learn A Lot

  • bitcoinBitcoin (BTC) $ 22,970.00
  • ethereumEthereum (ETH) $ 1,578.11
  • xrpXRP (XRP) $ 0.406491
  • cardanoCardano (ADA) $ 0.387793
  • dogecoinDogecoin (DOGE) $ 0.095412
  • polkadotPolkadot (DOT) $ 6.24
  • bitkub-coinBitkub Coin (KUB) $ 1.89