หลาย ๆ คนคงจะพอรู้กันบ้างแล้ว ว่า Bitcoin เป็นสกุลเงินดิจิตอล และมีความ decentralized คือกระจายศูนย์ และเมื่อมีการทำธุรกรรมในบล็อกใหม่ จะเชื่อมโยงกับบล็อกก่อนหน้า จึงเกิดเป็น blokchain นั่นเอง
และธุรกรรมบนบล็อกเชนของ Bitcoin มีความปลอดภัยและโปร่งใสสูง อีกทั้งยังไม่สามารถระบุตัวตนของคนที่ทำธุรกรรมได้โดยตรงอีกด้วย เพราะถูกออกแบบมาให้มีความเป็นส่วนตัวสูงนั่นเอง
บทความนี้พาไปเจาะลึกว่าทำไมการส่งเงินผ่าน Bitcoin ถึงปลอดภัย
ปกติส่ง Bitcoin กันยังไง?
ตัวอย่าง Alice ส่งเงินให้ Bob จำนวน 1 BTC โดยส่งผ่านกระเป๋าเงิน หรือ wallet ในระบบ blockchain โดยที่ Alice ต้องรู้เลข wallet address ของ Bob ก่อน เหมือนเราโอนเงินไปให้เพื่อนผ่านบัญชีธนาคารนั่นแหละ
ทำความรู้จักการเข้ารหัสกันก่อน
สมมุติว่า Alice ส่งข้อความว่า “Alice โอนเงิน 1 BTC ให้ Bob” ให้ Bob แบบตรงไปตรงมา ทำให้อาจจะมีบุคคลที่ไม่หวังดี แอบอ่าน หรือดักข้อมูลนี้ได้ และร้ายแรงที่สุด คือ เปลี่ยนแปลงข้อมูลที่ Alice ส่งไปให้ Bob
ดังนั้นการส่งข้อความเหล่านี้ ใช้กระบวนการเข้ารหัส หรือ cryptography กันก่อน ฝั่งคนส่งจะมี encrypt key เป็นกุญแจที่เอาข้อความนี้เข้ารหัส ก่อนที่จะส่งไปยังปลายทาง และปลายทางนั้นก็มี decrypt key เป็น key ที่เอาไว้ถอดรหัสข้อความที่ได้รับมา กระบวนการนี้ช่วยไม่ให้บุคคลที่ไม่หวังดี แอบอ่าน หรือดักข้อมูลนี้ได้
ขั้นตอนและกลไกที่ทำให้การส่ง Bitcoin ปลอดภัย
ก่อนอื่น ฝั่งคนส่งอย่าง Alice ต้องมีกระเป๋า หรือ wallet Bitcoin เป็นของตัวเองก่อน โดยสามารถตัว wallet ติดตั้งได้ผ่านคอมพิวเตอร์ มือถือ หรือเป็น hardware wallet ก็ได้
จากนั้นกรอกรายละเอียดการโอน รายละเอียดจะมี address ปลายทางที่เราจะส่ง Bitcoin และจำนวน Bitcoin ที่เราต้องการโอน
และที่สำคัญ ตรวจสอบรายละเอียดให้เรียบร้อยก่อนโอนนะ
ในที่นี้ ฝั่งของ Alice เองใช้ private key ในการลงนามธุรกรรมนี้ เพื่อเป็นการยืนยันว่าเราทำธุรกรรมนี้จริง ส่วน Bob มี public key คือ address ที่รับ 1 BTC นี้ เป็นการเข้ารหัสแบบไม่สมมาตร หรือ Asymmetric Encryption
เมื่อ Alice กดส่งธุรกรรมนี้ไปยังเครือข่าย P2P (Peer-to-Peer) ของ Bitcoin แล้ว ให้รอการยืนยันการทำธุรกรรมนี้ ประมาณ 10 – 30 นาทีโดยประมาณ
ทุกคนในระบบรับรู้ว่ามีธุรกรรมใหม่ คือ Alice โอนเงินให้ Bob 1 BTC และมีกลไกฉันทามตินี้ว่า Proof-of-Work (PoW) คอยประมวลผล และตรวจสอบธุรกรรมที่เกิดขึ้นในระบบ อีกทั้งช่วยสร้าง block ใหม่ โดยแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ ที่แต่ละคนหาค่า nouce (Number Used Only Once) เพื่อเข้า hash function
และเมื่อบันทึกธุรกรรมได้อย่างสำเร็จและถูกต้อง คือได้ค่า nouce ถ้ามีค่าน้อยกว่า หรือตํ่ากว่าเป้าหมาย จะเป็นคนได้ reward นี้ไป สุดท้ายนี้ธุรกรรมนี้จะถูกบันทึกไว้ใน blockchain
กระบวนการนี้เรียกว่า decentralized consessus คือทุกคนในระบบมีสิทธิ์ในการยืนยันธุรกรรมที่เกิดขึ้นใน blockchain ทุกคนในระบบไม่รู้ว่าใครเป็นใคร จึงไม่มีการแทรกแซงในการยืนยันธุรกรรมที่เกิดขึ้นในระบบนั่นเอง
และอย่าลืมว่า 1 block บน Bitcoin สามารถมีได้หลายธุรกรรมในนั้น ดังนั้นใครที่ทำธุรกรรมในช่วงเวลาเดียวกัน อาจจะต้องรอยืนยันธุรกรรมพร้อมกันนั่นเอง
ข้อควรระวัง
- เก็บ seed phase ในการสร้างกระเป๋า และ private key เป็นความลับ ห้ามบอก หรือห้ามแชร์ให้ใครเด็ดขาด
- เก็บ Bitcoin บน hardware wallet ปลอดภัยกว่า
- แต่สุดท้ายเราต้องระแวดระวัง และรอบคอบในการทำธุรกรรมเสมอนะ เพราะถ้าเราประมาท hardware wallet ก็ช่วยอะไรไม่ได้นะ ถ้าเราทำธุรกรรมที่มีความเสี่ยงไปแล้ว
Reference
บทความที่เกี่ยวข้อง
- Bitcoin คืออะไร? และจุดกำเนิดมาจากไหน?
- ทำไม Bitcoin Halving ถึงถูกนักลงทุนจับตามอง?
- Halving กี่รอบ? Bitcoin ถึงจะครบ 21 ล้านเหรียญ
- สถิติราคา bitcoin ในแต่ละปีเป็นอย่างไร?
- เมื่อก่อนซื้อ Bitcoin กันที่ไหนนะ? ย้อนประวัติศาสตร์ exchange แรกของโลกกัน
- ทำความรู้จัก MicroStrategy บริษัทผู้นำด้านการถือ Bitcoin
- มาย้อนรำลึกวัน Bitcoin Pizza Day ที่มีพิซซ่าแพงที่สุดในประวัติศาสตร์
- Bitcoin ETF คืออะไร? แล้วมีผลต่อตลาดยังไง?
- ทำความรู้จัก Grayscale Bitcoin Trust ETF กองทุนที่ถือ Bitcoin มากที่สุดในโลก
- เหรียญ Bitcoin Cash คืออะไร? เกี่ยวอะไรกับ Bitcoin ไหม