ในวันที่โปรเจคใหม่ๆผุดขึ้นมากมายเต็มไปหมด Tokenomics ก็ถือเป็นสิ่งสำคัญที่ควรรู้และควรศึกษาการที่จะลงทุนเสมอ เพราะส่วนหนึ่งที่จะสามารถระบุได้ว่าโปรเจคจะไปต่อได้หรือไม่ก็คงไม่พ้น Tokenomics เนี่ยแหละ
มาดู 5 ข้อที่ควรรู้ก่อนจะเริ่มลงทุนกัน
- มูลค่าที่แท้จริงของโทเคน
มูลค่าที่แท้จริงของโทเคนวัดได้จากสิ่งที่บอกว่าโทเคนนั้นใช้สำหรับทำอะไร เป็น use case สำหรับทำอะไรได้บ้างใน Ecosystem แน่นอนว่าพอพูดว่ามีโทเคนแล้ว สิ่งที่เข้ามาในหัวสำหรับหลายๆคนก็คงจะไม่พ้นคำถามว่า แล้วโทเคนนี้ใช้สำหรับทำอะไร ?
โดยส่วนใหญ่แล้ว ก็อาจจะใช้สำหรับทำอะไรบางอย่างหรือเป็น Governance ให้กับแพลตฟอร์มนั้นๆ ยกตัวอย่าง $ETH ที่ใช้สำหรับจ่ายค่าธรรมเนียมการทำธุรกรรมทุกอันบน Ethereum Network ก็ได้
- Token Supply
Supply ของโทเคนส่งผลต่อมูลค่าที่รับรู้กันได้ ยิ่งมีจำนวนน้อยเท่าไหร่ มูลค่าของโทเคนก็จะมากขึ้นเท่านั้น (ตาม Market Cap.) แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าแค่มีจำนวนน้อยอย่างเดียวจะแปลว่าดี ยังมีปัจจัยอื่นๆอย่าง circulating supply, maximum supply, และ fully diluted value ที่เป็นส่วนสำคัญที่ควรจะเช็คไปควบคู่กันด้วย
- กลไกการจัดการเงินเฟ้อและเงินฝืด
เงินเฟ้อในคริปโตฯก็คล้ายๆกับเงินเฟ้อที่มีอยู่ในปัจจุบันนั่นแหละ ซึ่งเกิดขึ้นได้จากการที่โทเคนหมุนเวียนในระบบมากขึ้น หรือลดลงเมื่อพูดถึงเงินฝืด ซึ่งก็มีหลายโปรเจคที่ใช้การปล่อยโทเคนให้เป็น reward กับผู้ใช้ด้วย APY ที่สูงๆ แล้วสุดท้ายก็เฟ้อขึ้นมา
โดยปกติแล้ว ก็จะมีกลไกที่ได้ยินกันบ่อยๆก็คือการเผาโทเคนเพื่อลด Supply เอา เหตุผลที่ต้องเผาก็เพื่อป้องกันไม่ให้ราคาลดต่ำลงตาม supply ที่มากขึ้นนั่นเอง
- Allocation และ Distribution
ถ้าสายอ่าน white paper จะคุ้นหน้าคุ้นตากันดีกับตาราง Token Allocation ที่ใช้ในการบอกว่าใครเป็นผู้ถือโทเคนไว้มากที่สุด อาจจะเป็น Ecosystem, Treasury, หรือ แจกจ่ายไว้สำหรับ Public Sale เลยก็ได้
แต่จุดที่ควรสนใจคือในกรณีที่มีสัดส่วนของ Private Sale ที่ขายให้กับ VCs หรือนักลงทุนรายใหญ่มากๆก็อาจจะมีโอกาสที่เสี่ยงต่อการถูกเทขายได้
- ตารางในการ Vesting
Vesting Period หมายถึงเวลาที่โทเคนจะถูกล็อคไม่ให้นักลงทุนหรือทีมสามารถทำอะไรกับโทเคนได้ ฉะนั้นแล้ว เราก็ต้องสนใจว่าแล้วเมื่อไหร่ที่โทเคนจะถูกปลดล็อกด้วย ในเหตุผลที่คล้ายๆกับข้อก่อนหน้านี้ก็เพื่อป้องกันการถูกเทขายเมื่อเหรียญถูกปลดนั่นเอง