เงินเฟ้ออังกฤษแตะ 9.1% สูงสุดในรอบ 40 ปี
ดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) เป็นไปตามความคาดหมายว่าจะสูงกว่าเดิมจากเดือนเมษายน โดยเพิ่มจากเดือนที่ผ่านมา 0.7% สูงกว่าที่คาดการณ์ไว้ที่ 0.6% แต่อย่างไรก็ตาม ตัวเลขก็ลดลงมาต่ำจากเดิมที่เพิ่มขึ้นมาถึง 2.5% ในเดือนเมษายน
อัตราเงินเฟ้อของสหราชอาณาจักรพุ่งแตะ 9.1% เมื่อเทียบเป็นรายปีในเดือนพฤษภาคม หลังราคาอาหารและพลังงานยังคงสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้วิกฤตค่าครองชีพของประเทศทวีความรุนแรงมากขึ้นกว่าเดิม
ตัวเลข CPI ที่ประกาศในวันนี้เพิ่มขึ้น 0.7% เมื่อเทียบจากเดือนที่แล้ว สูงกว่าที่คาดการณ์ไว้เล็กน้อยที่ 0.6% แต่อย่างไรก็ตาม ยังคงน้อยกว่าในเดือนเมษายนที่เพิ่มมาถึง 2.5% บ่งบอกว่ายังคงมีการชะลอตัวของอัตราเงินเฟ้ออยู่บ้าง
สำนักงานสถิติแห่งชาติของอังกฤษระบุว่าตัวเลขนี้เป็นตัวเลขที่สูงที่สุดในรอบ 40 ปีนับตั้งแต่ปี 1982 โดยประมาณการว่าจะสูงถึงเกือบ 11% ในเดือนมกราคมแล้วค่อยๆลดลงมาอยู่ที่ประมาณ 6.5% ในเดือนธันวาคม
สำหรับสัดส่วนที่ส่งผลต่ออัตราเงินเฟ้อในรอบนี้มากที่สุดได้แก่ค่าใช้จ่ายในครัวเรือนเป็นหลัก โดยมาจากไฟฟ้า, ก๊าซหุงต้ม. และเชื้อเพลิงอื่นๆ ควบคู่ไปกับการขนส่งที่ส่วนใหญ่จะเป็นเชื้อเพลิงยานยนต์และรถยนต์มือสอง
ดัชนีราคาผู้บริโภคทีรวมถึงดัชนีราคาบ้านและที่ดิน (CPIH) เป็นดัชนีชี้วัดเงินเฟ้อที่สำคัญ ซึ่งเป็นมาตรวัดภาวะเงินเฟ้อแบบครอบคลุมของสหราชอาณาจักรอยู่ที่ 7.9% เมื่อเทียบเป็นรายปีในเดือนพฤษภาคม ซึ่งเพิ่มจากเดิมในเดือนเมษายนที่ 7.8% ส่วนหนึ่งมาจากราคาอาหารและเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ที่ยังคงปรับตัวสูงขึ้น
สัปดาห์ที่ผ่านมา ธนาคารกลางอังกฤษประกาศปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเป็นครั้งที่ 5 เพื่อควบคุมอัตราเงินเฟ้อโดยที่ไม่ทำให้เศรษฐกิจชะลอตัวลง สวนทางกับสหรัฐอเมริกาและสวิตเซอร์แลนด์ที่ลดการปรับอัตราดอกเบี้ยอย่างรุนแรงอยู่
ปัจจุบัน อัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางอยู่ที่ 1.25% ซึ่งเป็นอัตราดอกเบี้ยที่สูงที่สุดในรอบ 13 ปี โดยธนาคารกลางคาดว่า CPI จะสูงเกิน 11% ในเดือนตุลาคม