Staking กันดีกว่า ทำได้ผ่าน HW Wallet ด้วยนะ
ช่วงนี้บนดอยมันหนาว เอ้ย สายถือยาวหลายๆคนคงจะสนใจระบบการ Staking หรือการฝากเหรียญกันพอสมควรเลย แต่หลายๆคนไม่รู้ว่านอกจากการ Staking บน Exchange กับ Software Wallet แล้ว เรายังสามารถทำได้ผ่าน Hardware Wallet ได้ด้วยนะ
จากนิยามของการ Staking การฝากที่ว่านี้ก็คือการที่เราจะได้เหรียญมาเพิ่มโดยที่ไม่ต้องขายเหรียญที่เราถืออยู่ แต่ใช้วิธีการนำไปฝากให้ Staking Validator ใช้ในการสนับสนุนภายในบล็อกเชน หรือภายใต้กลไกของ Proof-of- Stake (PoS) ซึ่งเป็นกลไกตรงข้ามของ Proof-of-Work ที่ใช้ใน $BTC นั่นเอง
ถ้าพูดถึง HW Wallet หลายๆคนก็น่าจะนึกถึง Ledger หรือ Trezor นี่แหละ แต่รู้กันหรือเปล่าว่า Ledger มีฟีเจอร์ส Staking มาตั้งแต่ปี 2019 แล้วนะ
ล่าสุด Ledger ก็เปิดตัวการ Staking บน Solana ให้เราสามารถ Earn $SOL ได้ง่ายๆจากการฝากเหรียญคริปโตฯเพื่อสนับสนุนเครือข่ายของ Solana แล้วด้วย
ซึ่งฟีเจอร์ส Staking นี้สามารถใช้ได้บนแอพลิเคชัน Ledger Live ที่ทำงานร่วมกับ Figment บริการบล็อกเชนที่มี Nodes สำหรับการ Staking โดยใช้ Ledger Validator และตอนนี้ก็รองรับแล้วทั้งหมด 6 เหรียญ ได้แก่ Ether (ETH), Tezos (XTZ), Polkadot (DOT), Cosmos (ATOM), Algorand (ALGO), และอื่นๆ
หลักๆเลยที่จะแตกต่างระหว่างการ Staking ผ่าน Software Wallet อย่าง MetaMask เมื่อเทียบกับ Hardware Wallet ก็คือเรื่องของ ‘ความปลอดภัย’ ที่มาเป็นอันดับที่ 1 เพราะอย่าลืมกันว่า HW Wallet ยังคงเป็นวิธีที่ปลอดภัยที่สุดที่จะให้เราสามารถจัดการดูแลสินทรัพย์ของเราที่มีได้
เวลาที่เรา Staking ด้วย Software Wallet เราถือเหรียญของเราก็จริง เรามี Private Keys ของเราก็จริง แต่ความปลอดภัยของเหรียญก็ขึ้นอยู่กับปัจจัยภายนอกอย่างความปลอดภัยของคอมพิวเตอร์หรือโทรศัพท์มือถือของเราอยู่ดี
การ Staking บน HW Wallet ที่เราจะได้เป็นเจ้าของและมีสิทธิควบคุมเหรียญของเราได้อย่างแท้จริง รวมไปถึงอิสระในการเลือก Validator ตรงข้ามกับการ Staking บน Exchange ที่จะสามารถทำได้ง่ายกว่าเพราะมีวิธีการเพียงไม่กี่ขั้นตอนเท่านั้น ไม่จำเป็นต้องศึกษาข้อมูลอะไรเกี่ยวกับ Validator เราก็สามารถทำการ Staking บน Exchange ได้
แต่เราก็ไม่ได้เสียบ HW Wallet ไว้กับคอมตลอดนี่นา แล้วจะ Staking ได้ตลอดไหม ? คำตอบคือ ได้แน่นอน HW Wallet ถูกออกแบบมาจัดเก็บเหรียญแบบ Offline อยู่แล้ว การที่เรา Staking ผ่าน Wallet แบบนี้จึงจะเรียกว่า ‘Cold Staking’ ตรงข้ามกับ ‘Online Staking’ บน Exchange
และจริงๆแล้ว การที่เราเก็บเหรียญคริปโตฯของเราไว้ใน HW Wallet ก็ไม่ได้แปลว่าตัวของเหรียญที่เราเก็บไว้จะ Offline ไปด้วย เพราะต้องเข้าใจก่อนว่า เหรียญคริปโตฯจะออนไลน์อยู่บนบล็อกเชนตลอดเวลา เวลาที่เราพูดถึง Hardware Wallet นั้น จริงๆแล้วเราพูดถึง Private Keys ที่เก็บไว้ในชิปรักษาความปลอดภัยภายใน Hardware Wallet มากกว่า
แต่อย่างไรก็ตาม ต่อให้มีอุปกรณ์มาจัดเก็บแล้ว เราก็ยังคงต้องเก็บ Private Keys ไว้อย่างปลอดภัยเหมือนเดิมอยู่ดีนะ
Source : cointelegraph