จับตา ETHDenver เจาะ 3 ประเด็นที่จะมาเป็นธีมใหญ่ในปี 2022
เริ่มกันแล้วกับงาน ETHDenver งานประชุมของชาว Ethereum ที่จัดในเมือง Denver ส่วนหนึ่งที่ทำให้งานนี้น่าสนใจเป็นเพราะว่างานประชุมที่ดีแบบนี้ได้ห่างหายจากชาวโลกไปถึง 2 ปี เหมือน Ecosystem ที่ขาดชิ้นส่วนสำคัญในการพัฒนาให้ไปต่อได้
หลายๆคนอาจจะคิดว่าการประชุมที่ต้องพบเจอแบบนี้มันขัดแย้งกับการที่บล็อกเชนและเหรียญคริปโตมันไม่จำเป็นต้องเปิดเผยตัวตนหรือไว้วางใจใครหรือเปล่า แต่ถ้าดูจากเห็นการอาชญากรรมที่ผ่านมาอย่างการ Rug Pull ทั้งใน DeFi และ NFT ก็ดูเหมือนว่าเราจะยังไม่ไปถึงจุดนั้นกันซักเท่าไหร่
แค่ฟาร์มแล้วฟาร์มโดน Rug ก็แย่แล้วนะ แต่ลองนึกภาพว่าถ้าเราไม่ใช่แค่คนฟาร์มแต่เป็นนักธุรกิจหรือนักออกแบบที่อยากจะมาสร้างสิ่งใหม่ๆให้กับคริปโตฯแล้ว เกิดอะไรแบบนี้ขึ้นบ่อยๆมันก็บั่นทอนความเชื่อมั่นไปได้เยอะ ดังนั้น งานนี้เลยมีความสำคัญอีกหนึ่งอย่างนอกจากการแบ่งปันความรู้ก็คือการสร้างคอนเนคชันระหว่าง Dev และผู้เข้าร่วมงานที่รู้ตัวตนซึ่งกันและกัน ไม่ใช่แค่อวาร์ตาร์เท่านั้น
ภายในงานจะเต็มไปด้วยข้อมูลทางเทคนิคแบบอันแน่นชนิดที่ว่าของมันต้องรู้เฉพาะงานนี้เท่านั้น และมากกว่าที่จะค้นหาได้จาก Search Engine ที่ไหนแน่นอน อย่างน้อยต่อให้เราไม่ใช่ Dev สายพัฒนาก็ยังจะได้ความรู้กลับติดไม้ติดมือไปได้ และที่สำคัญ งานนี้เปิดให้เข้าร่วมได้ฟรี รวมไปถึงสามารถชมออนไลน์ได้ด้วย
การประชุมของคริปโตฯส่วนใหญ่จะมีรูปแบบคล้ายๆกับบล็อกธุรกรรมที่รวมสิ่งต่างๆที่เกิดขึ้นในช่วงเวลาที่ผ่านมามาพูดถึง สรุป และจดบันทึกไว้ และ 3 ประเด็นที่จะมาเป็นธีมใหญ่ในปี 2022 ของงานนี้ก็คือ
1. Layer 2s, multichain และ การ Bridge
หลังจากเหตุการณ์ Wormhole Attack เกิดขึ้น อนาคตของบล็อกเชนเลเยอร์ 1 อย่าง Bitcoin, Solana, Avalanche ถูกนำขึ้นมาถกเถียงกันว่าจะสามารถโต้ตอบได้อย่างราบรื่นและปลอดภัยอยู่หรือไม่ ใครจะอยู่ใครจะไปหรือว่าต้องมีคนมาแก้ปัญหาให้อย่างสิ่งที่เรียกว่า Layer 2 กันดี
2. การอัปเกรดและการขยายขนาด (Scailing) ของ Ethereum 2.0
สิ่งหนึ่งที่ทำให้ Ethereum โดดเด่นมาจาก Bitcoin ก็คือการเปลี่ยนการทำงานแบบ Proof-of-work มาเป็น Proof-of-Stake ซึ่งใช้พลังงานน้อยกว่า ที่คาดว่าจะเสร็จสมบูรณ์ภายในสิ้นปีนี้ แต่สิ่งที่ตามมาคือผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นกับโปรเจคต่างๆที่ต้องพัฒนาตามให้ทัน รวมไปถึงการเตรียมตัวสำหรับการอัปเกรดเป็น ETH 2.0 ในอนาคต โดยเฉพาะส่วนของการแบ่งกลุ่มข้อมูล (Sharding) ที่วางแผนจะเริ่มใช้ในปี 2023 ว่าจะทำให้สามารถประมวลผลธุรกรรมได้มากขึ้นเท่าไหร่ และจะมีค่าใช้จ่ายในการทำงานมากขนาดไหน
3. ตลาดหมีและ BUIDL Market
ร่วงกันลงมาอีกแล้วหลังจากที่พึ่งเด้งกันไปให้ชื่นใจ อาจจะเป็นที่แน่ใจกันได้แล้วว่าการปรับขึ้รอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐส่งผลกระทบต่อคริปโตฯเหมือนกับสินทรัพย์อื่นๆ รวมไปถึงความแข็งแกร่งและความมั่นคงของโปรเจคคริปโตต่างๆได้ ไม่ใช่แค่จำนวนผู้ใช้ที่จะไม่หวือหวาตามที่คาด ทั้งที่ก่อนหน้านี้แรงกระทบจากภายนอกจะยังดูไม่เข้ามามีผลกระทบกับราคาของเหรียญซักเท่าไหร่ ฉะนั้นแล้วงานนี้ก็จะมีกลยุทธ์ที่น่าสนใจในการเทรดช่วงตลาดหมี ซึ่งเป็นครั้งแรกที่จะรวมไปถึงการซื้อและการควบรวมกิจการทั้งในระหว่าง Startups และ DAO ที่กำลังเป็นหัวข้อดาวเด่นในปีนี้ด้วยเช่นกัน